Skip to content

เกี่ยวกับคณะ

เกี่ยวกับคณะแพทยศาสตร์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้บ่มเพาะบุคลากรด้านการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อกลับไปดูแลชีวิตและสุขภาพของประชาชน มาตลอดระยะเวลา 50 ปี

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เริ่มการพิจารณาจัดตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2511 โดยศาสตราจารย์พิมล กลกิจ ได้นำเสนอโครงการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์แก่สภามหาวิทยาลัยขอนแก่นเพื่อพิจารณารายละเอียด และวิธีการดำเนินงาน จากนั้นได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลอิสราเอล ส่งผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ รวม 5 คน มาจัดการทำ Master Plan ของศูนย์แพทยศาสตร์

 

ต่อมา สภามหาวิทยาลัยขอนแก่นมีมติให้เสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อรับหลักการและแต่งตั้งกรรมการพิจารณารายละเอียดการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2514 และรับหลักการโครงร่างการจัดตั้งศูนย์แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ตามที่เสนอกับให้เสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป ซึ่งกรณีสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติได้เสนอไปแล้วจนได้บรรจุเข้าใน “แผนพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 3” (พ.ศ. 2515 – 2519)

 

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2515 คณะกรรมการบริหารสภาการศึกษาแห่งชาติได้อนุมัติการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และได้ประกาศจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์อย่างเป็นทางการขึ้นในวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2515 โดยมีนายแพทย์กวี ทังสุบุตร รักษาการในตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์และเป็นผู้อำนวยการศูนย์แพทยศาสตร์

 

คณะแพทยศาสตร์ เริ่มรับนักศึกษาแพทย์รุ่นที่ 1 เข้าศึกษาในปี พ.ศ. 2517 โดยคัดจากคณะวิทยาศาสตร์ – อักษรศาสตร์ จำนวน 16 คน เพื่อมาเรียนปีที่สองในคณะแพทยศาสตร์ และเปิดรับสมัครรุ่นที่ 2 เป็นจำนวน 44 คน ในปี พ.ศ. 2518 มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลนิวซีแลนด์ ในการออกแบบและควบคุมการก่อสร้างโรงพยาบาลและคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยเปิดให้บริการผู้ป่วยนอกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยขอนแก่น ณ อาคารชั่วคราวบริเวณสีฐาน โดยมีรองศาสตราจารย์นายแพทย์ นภดล ทองโสภิต เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลคนแรก

 

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2519 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี และสมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ได้เสด็จพระราชดำเนินวางศิลาฤกษ์อาคารโรงพยาบาล ศูนย์วิทยาศาสตร์ สุขภาพ และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้ชื่อว่าโรงพยาบาลศรีนครินทร์ (Srinagarind Hospital) เมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ จึงได้เปิดบริการรักษาพยาบาลเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2521 โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินเปิดโรงพยาบาลศรีนครินทร์เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2526

ปณิธาน

ก่อตั้งขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตสาขาแพทยศาสตร์ โดยเน้นด้านเวชปฏิบัติทั่วไปและสุขภาพชุมชน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและเป็นศูนย์กลางความร่วมมือในการค้นคว้า วิจัยปัญหาด้านสุขภาพ

วิสัยทัศน์

โรงเรียนแพทย์ระดับโลกที่มีคุณค่าต่อสังคมไทยและมวล
มนุษยชาติ

พันธกิจ

  • การจัดการศึกษาและผลิตบัณฑิตทางการแพทย์ (Education) การวิจัยและสร้างองค์ความรู้ นวัตกรรม เพื่อการพัฒนาที่สมดุลและยั่งยืนเป็นที่ยอมรับในระดับสากล (Research and Innovation) การรักษาพยาบาล (Health care) นอกจากนี้ คณะฯยังมุ่งส่งเสริม ช่วยเหลือ และสนับสนุนสังคม (Social devotion) โดยเฉพาะประชาชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และมีส่วนร่วมสนับสนุน ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม เพื่อสร้างสังคม ให้เข้มแข็งและมีดุลยภาพ
2510
ปีการก่อตั้ง
0
สาขาปรีคลินิก
9
สาขาคลินิก
350
นักศึกษาปัจจุบัน

ค่านิยม : (ACTS)

Agility

  • ฉับไว คล่องตัว พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลง

Customer Target

  • คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในพันธกิจหรือกระบวนการ
  • คำนึกถึงผู้เรียน
  • คำนึงถึงผู้ป่วย

Technology and Innovation

  • มุ่งเรียนรู้และประยุกติ์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการปรับปรุงกระบวนการทำงานให้มีประสิทธิภาพประสิทธิผล
  • สร้างนวัตกรรมเพื่อนำไปเพิ่มประสิทธิภาพด้านการรักษาพยาบาล การช่วยเหลือชุมชนและนวัตกรรมเชิงพาณิชย์

Social Devotion

  • สนับสนุนช่วยเหลือ เป็นที่พึ่งของชุมชน ทั้งในด้านสุขภาพ และด้านอื่นๆ
  • รับผิดชอบต่อสังคม ประหยัดพลังงาน และห่วงใยสิ่งแวดล้อม

เป้าประสงค์

เพื่อพัฒนาระบบการบริหารจัดการคณะฯ ให้ทันสมัยและทันต่อการเปลี่ยนแปลงสามารถรักษาและพัฒนาคุณภาพการจัดการการศึกษา และงานวิจัยเพื่อมุ่งสู่การเป็นโรงเรียนแพทย์ระดับโลก(300th QS World University Rankings by subject: Medicine) และการพัฒนางานบริการรักษาพยาบาลให้มีคุณภาพระดับสากล และเกิดผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์และเป้าหมายของคณะฯ โดยมีเป้าประสงค์ดังนี้

1. มุ่งผลิตบัณฑิตและบุคลากรทางการแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาโดยใช้หลักสูตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐานสากล และเปี่ยมไปด้วยทักษะที่จ าเป็นส าหรับบุคลากรทางการแพทย์ในศตวรรษที่ 21

2. มุ่งพัฒนาคุณภาพการบริการรักษาพยาบาลในโรงพยาบาลศรีนครินทร์และศูนย์หัวใจสิริกิติ์ฯ ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีระบบเครือข่ายการให้บริการที่ครอบคลุมและสอดคล้องกับระบบสุขภาพของประเทศ สามารถรองรับการผลิตบัณฑิต ทั้งในระดับปริญญาตรี และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางและมีการจัดตั้งโครงการศูนย์บริการการแพทย์ชั้นเลิศ (Medical Hub) เพื่อรองรับการให้บริการผู้ป่วยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และการรักษาโรคที่ต้องการความเชี่ยวชาญและเทคโนโลยีชั้นสูง

3. ผลิตผลงานวิจัยและนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อน าไปใช้แก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนในประเทศและนานาชาติ รวมทั้งนำไปใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

4. มุ่งมั่นในการเป็นองค์กรที่เป็นที่พึ่งแก้ปัญหาสังคม โดยเฉพาะปัญหาสุขภาพของประชาชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยมีนโยบายส่งเสริม การมีส่วนร่วมของคณะฯ ต่อชุมชน รวมทั้งการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์พลังงาน

5. มีระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล (Human Resource Management) ที่ดีครอบคลุมทั้งเรื่องการพัฒนาสมรรถนะ แนวทางความก้าวหน้า ค่าตอบแทน สวัสดิการและสิทธิประโยชน์อย่าง
เหมาะสม รวมทั้งการสร้างกลไกในการรักษาบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถสูงให้คงอยู่ในคณะฯสร้างแรงจูงใจที่จะดึงดูดคนดีคนเก่งให้มาปฏิบัติงานในคณะฯ ส่งผลต่อระดับความผูกพันของบุคลากรต่อองค์กร และทุ่มเทสร้างผลการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กร และมาตรฐานการทำงานที่มีผลสัมฤทธิ์สูง

6. สร้างระบบบริหารจัดการที่ดี ที่ทำให้เกิดคุณภาพชีวิตและความสุขในการปฏิบัติงานของบุคลากรควบคู่กับการมีธรรมาภิบาล เป็นองค์กรที่มุ่งสู่ความเป็นเลิศ พึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน โดยใช้ระบบ
สารสนเทศเกณฑ์มาตรฐานสากล และเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) และรางวัลเกณฑ์คุณภาพแห่งชาติ (TQA)

 

หน่วยงานและบุคลากร

โครงสร้างบริหารคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น